สินเชื่อเพื่อการนำเข้าส่งออกสำหรับผู้ประกอบการ

Last updated: 7 เม.ย 2565  |  903 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สินเชื่อเพื่อการนำเข้าส่งออกสำหรับผู้ประกอบการ

เมื่อพูดถึงการนำเข้าส่งออก ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนคือเงิน หากพูดถึงการนำเข้าส่งออกในเชิงการเงิน สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือสินเชื่อธุรกิจ เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจของเราขยายตัวเป็นอย่างมาก หากลองนึกดูว่ามีลูกค้ามาสั่งของเรา แต่เราไม่มีเงินหมุนไปจัดหาหรือผลิตสินค้า เราได้แต่บอกว่าให้ลูกค้ารอเรามีเงินก่อน ค่อยมาสั่ง นั่นทำให้เสียโอกาสทางการค้าลูกค้าอาจไปซื้อสินค้าจากที่อื่นแล้วก็ได้ ฉะนั้นสินเชื่อหรือเงินกู้สำหรับการนำเข้าส่งออกจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมากนั่นเอง สำหรับมือใหม่หรือธุรกิจขนาดเล็ก (SMEs) การเข้าถึงสินเชื่ออาจจะทำไม่ได้โดยง่ายหากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพราะธนาคารจะดูรายละเอียดของเงินเข้า-ออก งบบัญชีกำไร-ขาดทุน เป็นต้น ซึ่งมีความยุ่งยากหากเทียบกับยอดขายของธุรกิจรายใหญ่อาจจะเป็นรองในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามหากท่านมีความพร้อมในการทำธุรกิจนำเข้าส่งออกบางครั้งธนาคารก็มีสินเชื่อที่เราอาจไม่ต้องรอให้ธุรกิจโตก่อนเราก็สามารถขอวงเงินกู้ได้สินเชื่อเหล่านั้นมีอะไรบ้างเรามาดูกัน


Packing Credit สินเชื่อเพื่อการส่งออก
สำหรับผู้ส่งออกในบางครั้งมีลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้าของเราเป็นจำนวนมากแต่ว่าตัวเราเอง ไม่สามารถผลิตหรือจัดหาให้ได้เนื่องจากขาดเงินทุนเพราะเราต้องนำเงินทุนของเราไปสั่งซื้อวัตถุดิบมาผลิตหรือหาเงินมามัดจำเพื่อสั่งให้ผู้ผลิตทำของให้เรา บางครั้งเราอาจจะมีทางออกหากเราใช้เงินของเราแต่ถ้าเงินของเราไม่พอ ธนาคารมีสินเชื่อเพื่อการส่งออก ที่คอยสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจสามารถกู้ได้สินเชื่อนี้คือวงเงินสำหรับการหมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายเมื่อผู้กู้มีออเดอร์เท่านั้นหากพูดง่ายง่ายก็คือ ถ้ามีออเดอร์หรือคำสั่งซื้อแปลว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะได้เงินในอนาคต เพราะลูกค้าเตรียมจ่ายเงินในไม่ช้า เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่มีทุนเอาไปผลิตนั่นเอง ธนาคารจึงอนุญาตให้ผู้กู้กู้เงินได้เมื่อมีออเดอร์เท่านั้น ก่อนจะมีวงเงินนี้ได้เราต้องไปเปิดวงเงินกับธนาคารก่อนซึ่งเค้าจะมีหลักเกณฑ์ของข่าวเกี่ยวกับเอกสารทางบัญชี สินทรัพย์ค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ย ซึ่งได้ตกลงกันไว้ก่อนจะให้เริ่มกู้กันจริงๆเหมือนเราไปทำบัตรเครดิตนั่นเอง


Negotiation / Discount Export Bill บริการรับซื้อตั๋วลดส่งออก

 
หลังจากผู้ส่งออกส่งสินค้าให้ผู้นำเข้าแล้วเว้นวรรคหากมีการตกลงกันว่าผู้นำเข้าจะชำระเงินในภายหลัง เช่น ภายใน 30 วัน หรือ 60 วัน หมายความว่าระหว่างนี้ผู้ส่งออกแต่ยังไม่ได้รับเงินค่าสินค้าและอาจทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียนได้ซึ่งในบางครั้ง ผู้ส่งออก ต้องการเงินทุนหมุนเวียนก่อนเพื่อนำไปใช้ในการรับออเดอร์อื่นๆ ก็สามารถแจ้งต่อธนาคาร เพื่อขอขายตั๋วลดส่งออกโดยธนาคารจะมีการรับซื้อตั๋วส่งออกนั่นเอง หากจะอธิบายถึงการรับซื้อตั๋ว ก็จะเหมือนกับการแลกเช็คเพราะธนาคารรู้แน่แน่ว่าผู้ส่งออกจะได้รับเงินในอีกไม่ช้าซึ่งธนาคารก็จะรับซื้อนี่การค้าที่ผู้นำเข้าต้องการจ่าย โดยการคืนเงินให้กับผู้ส่งออกที่มาร้องขอ โดยจะทำการหักค่าบริการหรือดอกเบี้ย หรือค่าทำเนียมไปตามที่ตกลงกันเว้นวรรคเพื่อรับเงินจำนวนเต็มจากผู้จ่ายเงินหรือผู้นำเข้าในภายหลังนั่นเอง ผู้ส่งออกที่ต้องการเงินหมุนก็สามารถนำสินเชื่อลูกค้ามาขายได้ที่ธนาคารครับ


Trust reciept สินเชื่อเพื่อการนำเข้า
ในทางตรงข้ามกับผู้ส่งออก กรณีผู้นำเข้าสินค้าเข้ามาขายแล้วแต่ยังไม่มีเงินทุนไปจ่ายเงินกับผู้ส่งออกที่ประเทศต้นทางเว้นวรรคผู้นำเข้าสามารถไปขอกู้เงินกับธนาคารได้เว้นวรรคโดยสินเชื่อนี้เรียกว่า Trust Receipt เพื่อช่วยให้ผู้นำเข้าสามารถนำสินค้าออกมาขายก่อนแล้วชำระเงินคืนให้กับธนาคารทีหลังได้ ในบางครั้งการสั่งสินค้าแต่ละครั้งอาจจำเป็นต้องสั่งในปริมาณมาก หากสินค้ามีการบริโภคในปริมาณมาก เมื่อรู้ว่าสามารถขายได้แน่นอนการสั่งในปริมาณมากทำให้ ได้ต้นทุนในราคาที่ถูกลง นั่นหมายถึงผลกำไรที่มากขึ้น
 
Import L/C วงเงินสินเชื่อสำหรับ L/C
สำหรับผู้นำเข้าที่ชำระเงินแบบ Letter of Credit (L/C) สามารถไปขอสินเชื่อเพิ่มเติมได้เว้นวรรคหลักการเดียวกันกับ Trust Receipt แต่เป็นสินเชื่อสำหรับการนำเข้า นอกจากนี้ยังมีวงเงินอื่นๆที่นิยมใช้ในการนำเข้า เช่น

 
Foreign Exposure Line วงเงินสำหรับป้องกันความเสี่ยงจากอัตราการแลกเปลี่ยน

Bank Guarantee Line วงเงินสำหรับหนังสือค้ำประกันภาษีที่ออกโดยธนาคารวางไว้ที่กรมศุลเผื่อฉุกเฉิน กรณีต้องการเอาของออกจากศุลกากรก่อน
 
Shipping Guarantee Line วงเงินธนาคารค้ำประกันเราให้บริษัทขนส่ง

 
สินเชื่อทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นสินเชื่อที่มีประโยชน์สำหรับนักธุรกิจมือใหม่หรือธุรกิจขนาดเล็กซึ่งทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวกไม่ติดขัด และยังเป็นตัวช่วยที่ทำให้ผู้ประกอบการ นำเข้า-ส่งออกสามารถขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้นำเข้า-ส่งออก หากผู้อ่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของสินเชื่อแต่ละประเภทผู้เขียนแนะนำให้ลองปรึกษากับธนาคารต่างๆ จะทำให้ท่านได้รับรายละเอียดที่ครบถ้วน ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น

 
อ้างอิงจาก : INTERTRADER ACADEMY

ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com 
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้