Incoterms เทอมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับผู้ประกอบการ

Last updated: 7 เม.ย 2565  |  1299 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Incoterms เทอมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับผู้ประกอบการ

หากเราสัยว่าเวลา ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เราต้องคิดรวมค่าส่งหรือไม่ แล้วค่าส่งควรคิดต้นทุนทั้งหมดถึงเมื่อไร หรือต้องเสียภาษีปลายทางไหม แล้วค่าใช่จ่ายอะไรบ้างที่ลูกค้าต้องชำระเงิน ลองนึกถึงเวลาเราซื้อของในประเทศ ทั้งแบบออนไลน์ และแบบซื้อกับห้างร้าน จะต้องมีการตกลงกันเสมอว่า ราคาสินค้านั้นรวมค่าส่งหรือไม่ หากรวมแล้วจัดส่งได้ถึงที่ไหน ในการส่งออกก็เช่นกัน เราจะต้องมีการระบุค่าส่งด้วย รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่แต่ละฝั่งทั้งผู้นำเข้าและส่งออกต้องรับผิดชอบ แต่ถึงจะมีการระบุไว้แล้วมันก็อาจเกิดความวุ่นวายหรือเข้าใจผิดกัน เช่น ผู้ส่งออกไทย เวลาส่งสินค้าเราจะไม่ + ค่าอะไรเลยให้ลูกค้ามารับของที่โกดังเรา แต่ในขณะที่ผู้นำเข้าหลายหลายประเทศต้องการสินค้าให้ส่งถึงหน้าบ้าน มันเลยเกิดเหตุการณ์ว่าเข้าใจไม่ตรงกัน และนี่ยังไม่นับอีกหลายหลายประเทศ ต่างก็มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจเป็นของตัวเอง จึงทำให้เกิดการพูดคุยที่สับสนและเข้าใจไม่ตรงกัน

 
หอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce - ICC) ขอได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้เช่นกันจึงได้กำหนดกติกาบางอย่างที่บังคับใช้กันทั่วโลก ที่เรียกว่า Incoterms ย่อมาจาก International Commercial Terms


Incoterms (International Commercial Terms) คือข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้าหรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า โดยกำหนดเป็นมาตรฐานความหมายการค้าที่ใช้ตกลงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเป็นสากล ได้รับการดูแลและคุ้มครองโดยสภาหอการค้านานาชาติ ซึ่งยึดติดกับการค้าสหประชาชาติหลัก เพื่อให้ลูกค้าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบ ภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ โดยช่วยให้ทั้งสองฝ่ายที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมมีความเข้าใจตรงกัน Incoterms คือกติกาไม่ใช่กฎหมายหรือข้อบังคับระหว่างประเทศ ดังนั้น ผู้ส่งออกหรือนำเข้าจึงไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องใช้กติกานี้ทุกครั้ง อย่างไรก็ตามหากทั้งสองฝ่ายตกลงจะใช้กติกานี้แล้วก็ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะหากผิดข้อตกลง เพราะอาจถูกฟ้องร้องค่าเสียหายได้

 

Incoterms
เป็นกติกา โดยจะระบุถึง 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่
1.) ใครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย หรือพูดง่ายง่ายก็คือ ถ้าคุยกันด้วยเทอมหนึ่งผู้ส่งออกจะต้องออกค่าใช้จ่ายเมื่อสินค้าถูกลำเลียงถึงจุดไหนนั่นเองและที่เหลือก็จะเป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้นำเข้า
2.) ระบุขอบเขตความรับผิดชอบเช่นกรณีเรืออยู่ระหว่างเดินทางในมหาสมุทร ปรากฏว่ามีการอัพปรางหรือสินค้าเสียหาย ผู้ส่งออกหรือนำเข้า ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหาย หรือไล่เบี้ยกับสายเรือและบริษัทประกันภัย เป็นต้น
3.) ระบุว่าใครเป็นผู้ชำระค่าประกันภัย เรื่องนี้เป็นเรื่องขยายความจากหัวข้อที่สองนั่นเอง

 
Incoterms(International Commercial Terms) มีกี่แบบ
Incoterms นั้นมีทั้งหมด 11 แบบซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ใหญ่ได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ

กลุ่ม E คิดเฉพาะค่าสินค้า


EXW : EX-WORK
ในข้อนี้ จะเน้นไปที่ราคาสินค้าเท่านั้นโดยผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตมีหน้าที่ผลิตหรือจัดหาสินค้าให้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ ต้นทุนสินค้าบวกกำไรที่ต้องการ โดยไม่รวมค่าขนส่งสินค้าแล้วบอกสถานที่ให้ผู้นำเข้าจัดหาพาหนะมารับสินค้า โดยข้อนี้คนไทยนิยมใช้เว้นวรรคเพราะคิดราคาเฉพาะแค่ต้นทุนสินค้ากับกำไรเท่านั้นและจะรวมเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องออกโดยผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตเว้นวรรคซึ่งค่าใช้จ่ายเอกสารจะรวมในต้นทุนทั้งหมด

 

กลุ่ม F ผู้ส่งออกรับภาระค่าใช้จ่ายเฉพาะในประเทศต้นทาง
ในกลุ่มนี้นั้นผู้ส่งออกจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเฉพาะในประเทศต้นทางซึ่งอาจจะรวมหรือไม่รวมบางอย่างแต่จะไม่เกินขอบเขตประเทศต้นทางแน่นอน

 

FCA : Free Carrier
ข้อนี้เป็นข้อที่ผู้ส่งออกคิดค่าสินค้าต้นทุนบวกกำไร และคิดค่าขนส่งด้วยโดยผู้ส่งออกมีหน้าที่ส่งสินค้าไปยังโกดังหรือสถานที่รับของลูกค้าที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งจะอยู่ในประเทศผู้ส่งออกนั้นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีลูกค้าต่างประเทศมาเช่าโกดังในไทยเพื่อรับสินค้าไปส่งต่อเอง

 
FAS : Free Alongside Ship
ข้อนี้ค่อนข้างซับซ้อน เพราะใช้การขนส่งบางประเภทเท่านั้น เช่นน้ำมันซึ่งสินค้าโดยส่วนใหญ่จะไม่ใช้เทอมนี้ดังนั้นไม่ขอลงรายละเอียด

 
FOB: Free on Board
ผู้ส่งออกมีหน้าที่ส่งสินค้ามาถึงท่าเรือประเทศต้นทางโดยรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้วไม่ว่าจะเป็นค่าสินค้า ค่าขนส่งค่าธรรมเนียมศุลกากร และฆ่ายกสินค้าลงเรือ ส่วนนอกเหนือจากนั้นผู้นำเข้าเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย

 

กลุ่ม C กลุ่มนี้ ผู้ส่งออกจะต้องคำนึงถึงค่าขนส่งระหว่างประเทศด้วย

CPT: Carriage Paid-To
เป็นการขนส่งสินค้ารวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่ประเทศต้นทางแล้วรวมกับค่าขนส่งระหว่างประเทศเพื่อไปส่งยังจุดหมายปลายทางของประเทศผู้นำเข้า ซึ่งจะเป็นที่ใดก็ได้ที่ระบุไว้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสนามบินหรือศุลกากรฝั่งผู้นำเข้า

 
CIP: Carriage and Insurance Paid-To
เหมือน CPT โดยผู้ส่งออกรับภาระค่าประกันภัยแทนผู้นำเข้า

 
CFR: Cost and Freight
เป็นการขนส่งทางเรือที่รวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างของประเทศต้นทาง (FOB) แล้วบวกด้วยค่าขนส่งระหว่างประเทศไปถึงปลายทาง

CIF: Cost,Freight and Insurance
เหมือน CFR แต่รวมค่าประกันภัยด้วย


กลุ่ม D ข้อนี้ผู้ส่งออกต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในประเทศปลายทางด้วย

DAP:Delivery at Place
เป็นการขนส่งถึงสถานที่ของลูกค้าผู้นำเข้าปลายทาง แต่จะไม่รวมค่าศุลกากรขาเข้าของประเทศปลายทาง


DPU: Delivery at Place Unloaded
เหมือน DAP แต่จะรวมค่ายกสินค้าลงจากรถด้วย


DDP:Delivery Duty Paid
เป็นการชำระค่าใช้จ่ายศุลกากรปลายทางให้ลูกค้าด้วยรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้วเว้นวรรคแต่จะไม่รวมค่ายกสินค้าลงจากพาหนะ

 
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นข้อมูลที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อป้องกันการผิดพลาดในเรื่องของการเสนอราคาสินค้ากับต่างประเทศ ผู้เขียนหวังว่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย


อ้างอิงจาก : INTERTRADER ACADEMY

ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com 
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้