Last updated: 18 เม.ย 2565 | 2115 จำนวนผู้เข้าชม |
หากเราเคยฟังข่าวจะได้ยินคำว่าเศรษฐกิจของประเทศเติบโตมากขึ้น หรือโตน้อยลง และก็คงได้ยินคำว่า GDP มาคู่กับข่าวเศรษฐกิจแบบนี้ สิ่งที่เรารู้กันแน่แน่แหละว่า GDP ต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศแต่น้อยคนนักที่จะรู้ความหมายจริงๆของคำว่า GDP ว่ามันคืออะไรแล้วมันสำคัญอย่างไรกับเศรษฐกิจของเรา เรามาทำความเข้าใจคำว่า GDP กัน แต่ก่อนจะเข้าใจคำว่า GDP เราต้องเข้าใจคำว่าเศรษฐกิจเสียก่อน
เศรษฐกิจคืออะไร
เศรษฐกิจคือการเกิดกิจกรรมทางธุรกิจ ได้แก่ การผลิต การบริโภค และการจำหน่ายและการบริการ และทั้งสามกิจกรรมนี้ทำให้เกิดรายได้ของประชากรหากเราอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำมาหากิน เราก็ไม่มีรายได้ ก็ไม่ได้สร้างเศรษฐกิจ แต่หากเราทำงานหรือประกอบอาชีพ เรามีรายได้ เราก็คือผู้สร้างเศรษฐกิจ คำว่าเศรษฐกิจดีก็หมายถึงมีการผลิต บริโภค บริการและจัดจำหน่ายมากขึ้น เมื่อทุกอย่างที่กล่าวมามากขึ้นทุกคนก็มีเงินมาจับจ่ายใช้สอยแล้วนำเงินที่ได้ไปต่อยอดมากขึ้น เมื่อ มีการผลิตมากขึ้นก็ส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อมีรายได้เพิ่มประชาชนก็จับจ่ายใช้สอยเพิ่มเมื่อมีคนซื้อของเพิ่มขึ้นผู้ผลิตก็ผลิตของมากขึ้น วนกันไปอย่างนี้ส่วนคำว่าเศรษฐกิจไม่ดี คือคนใช้จ่ายน้อยลง ของที่ขายก็ขายยากขึ้น เมื่อของขายยากก็ลดกำลังการผลิต เมื่อลดกำลังการผลิตก็ลดกำลังการจ้างงาน เมื่อลดกำลังการจ้างงานรายได้ของผู้บริโภคก็น้อยลง พอรายได้น้อยลงก็ใช้จ่ายน้อยลง วนกันไปแบบนี้เช่นกัน ฉะนั้นยิ่งประเทศ เมือง รัฐ ไหนมีเศรษฐกิจดี แปลว่ากิจกรรมเหล่านี้มีมากและสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
GDP คืออะไร
GDP ย่อมาจากคำว่า Gross Domestic Product โดยแปลเป็นไทยได้ว่า ผลผลิตมวลรวมของประเทศ โดยแปลเป็นภาษาชาวบ้านคือ ขนาดเศรษฐกิจ โดยหลักการ GDP คือ มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตภายในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด โดยผลผลิตมวลรวมของประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้นนั้น ส่วนอีกคำหนึ่งที่ได้ยินกันบ่อยๆ ก็คือ GDP Growth หรืออัตราการเติบโตซึ่งจะวัดกันเป็นเปอร์เซ็นต์โดยเทียบกับปีที่ผ่านมา เช่น ในปี 2562 ประเทศไทยมี GDP 544,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีก่อน 543,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แปลว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมานั่นเอง
GDP มีประโยชน์ยังไง
สมมุติว่าเราส่งสินค้าออกไปต่างประเทศเราจะดูว่าประเทศไหนมีคนซื้อเยอะๆบ้าง เราคงดูจากจำนวนประชากร เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย มีประชากรมากที่สุดในโลก แต่เมื่อดูในรายละเอียดปรากฎว่าประชากรในบ้านประเทศแม้จะมีจำนวนมากแต่ก็ไม่ได้มีเงินเยอะ ฉะนั้นผู้ส่งออกหรือนักลงทุนก็จะต้องดูตัวเลขทางเศรษฐกิจประกอบ ซึ่งก็คือแต่ละประเภทนั้นมี ศักยภาพในการหาเงินหรือทำเงินหรือสร้างมูลราคาเพิ่มได้มากน้อยแค่ไหนซึ่ง GDP ก็เป็นปัจจัยที่ตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ นอกจากนั้นจะมีการดูศักยภาพของแต่ละบุคคลด้วยเช่นในบางประเทศที่ประชากรเยอะไม่ได้แปลว่ามีขนาดเศรษฐกิจเยอะ (ประชากรยังจนอยู่) โดยรายได้เฉลี่ยต่อคนอาจจะน้อยกว่าในบางประเทศที่มีประชากรน้อยกว่าก็ได้ ในบางครั้งแต่ละประเทศที่เราจะพิจารณาว่าควรไปลงทุนก็จะดูจากมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในทางเศรษฐศาสตร์และการลงทุน นักลงทุนก็ยังดู GDP Growth Rate ด้วยว่ามีอัตราการเติบโตในแต่ละปีมากน้อยแค่ไหนหากที่ไหนเติบโตมากๆแปลว่าเงินที่ลงทุนไปก็มีแนวโน้มจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมามากนั่นเอง
GDP มีขอบเขตอะไรบ้าง
GDP จะนับเฉพาะมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาณาเขตของประเทศเท่านั้นโดยไม่สนใจว่าคนที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจจะมาจากประเทศไหนยกตัวอย่างเช่น GDP ของไทย แปลว่าเราจะนับกิจกรรมทุกอย่างที่สร้างมูลค่าขึ้นในประเทศ แบบนี้นับเป็น GDP ของประเทศไทยทั้งหมดเพราะมูลค่าเพิ่มมันเกิดขึ้นในเมืองไทยนั่นเองเว้นวรรคโดยวิธีการวัดผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ สามารถวัดได้ 2 วิธีได้แก่
1. การวัดรายจ่าย(Expenditure Approach) ที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
2. การวัดรายได้(Resource Cost - Income Approach) ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
การใช้วิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีพื้นฐานที่สุดในการวัดและเข้าใจดังนั้นจะอธิบายตัวแปรในสมการที่คำนวณ GDP ด้วยการวัดรายจ่ายเท่านั้น
GNP แฝดคนละฝาของ GDP
ในทางกลับกันเราคงสงสัยถ้ามีคนไทยไปทำงานในต่างประเทศ แล้วได้เงินเดือน เราจะไม่นับเป็น GDP เหรอ คำตอบก็คือไม่นับว่าเป็น แต่จะนับเป็นอีกชื่อหนึ่งแทน ชื่อว่า GNP (Gross Nation Product) แปลเป็นไทยง่ายๆว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจที่คนไทยสร้างได้ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งวิธีการคิดคำนวณก็จะไม่ซับซ้อนมาก คือการนำรายได้ที่ผลไทยหนังกลับมาจากต่างประเทศ เช่น การขายแรงงาน การลงทุนในต่างประเทศ ฯลฯ มารวมกับ GDP ประเทศไทยนั่นเอง อาจจะมีข้อสงสัยว่าการที่คนไทยไปหารายได้ในต่างประเทศเป็นการสร้าง GDP ในประเทศนั้นๆ เพราะการใช้จ่ายอยู่ที่ประเทศนั้นเว้นวรรคก็เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศนั้นใช่หรือไม่ คำตอบคือใช่ครับเพราะเป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศนั้น ในแง่ของการลงทุน นักลงทุนมักสนใจในการลงทุนในแต่ละประเทศมากกว่าและนี่เป็นสาเหตุว่าทำไมแต่ละประเทศที่อยากให้ GDP เติบโตสูงๆ จึงอยากให้ชาวต่างชาติมาลงทุนและแน่นอนเมื่อมาลงทุน นักลงทุนก็ต้องหวังผลตอบแทนแต่ในขณะเดียวกันหากไม่มีใครมาลงทุนเลยอาจทำให้เศรษฐกิจฝืดเคืองก็ได้ ฉะนั้นการลงทุนจากต่างชาติหากไม่เป็นการเอาเปรียบกันเกินไป ก็ถือว่าเป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่ง
GDP จะนับจากสิ่งที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศนั้นนั้น ความหมายของคำว่ามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มของคนในพื้นที่นั้นนั้นเว้นวรรคโดยมูลค่าเพิ่มนี้เกิดได้ทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจเว้นวรรคและรวมถึงภาครัฐด้วย ยกตัวอย่างเช่น เราเป็นพ่อค้าคนกลาง ซื้อของมาจากโรงงานด้วยต้นทุน 10 บาทเว้นวรรคนำไปขายต่อในราคา 15 บาท แปลว่าเราสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ทั้งหมด 5 บาทเว้นวรรคและแน่นอนว่า 5 บาทไม่ได้ได้มาโดยไม่มีอะไรเลย เราจะต้องลงมือลงแรง ประชาสัมพันธ์หาลูกค้าทำโฆษณา เดินเข้าหาลูกค้าเพื่อเสนอขาย หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ได้เงิน 5 บาทนั้นมา แบบนี้คือมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจ อีกตัวอย่างหนึ่ง สมมุติว่า เราเป็นคนทำงานออฟฟิศ สิ้นเดือนได้รับเงินเดือน รายได้ที่เราได้รับมาก็นับเป็นมูลค่าเพิ่มเพราะเราต้องใช้แรงงาน มันสมอง รวมถึงเวลาในการสร้างรายได้เรานั้น หากเราเป็นนักลงทุน มีเงินก้อนอยู่เอามาลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดหุ้น ฝากธนาคาร แล้วได้ผลตอบแทนมาในรูปแบบปันผล แบบนี้ก็นับด้วยเช่นกัน อะไรที่ไม่ใช่เศรษฐกิจคือสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ยกตัวอย่างเช่น การพนันลองนึกภาพว่ามี 4 คน เอาเงินมาคนละ 1,000 บาท รวม 4 คน มีเงินทั้งสิ้น 4,000 บาท ทั้ง 4 คนปิดห้องไม่ต้องไปไหน เล่นการพนันกันข้ามวันข้ามคืนพอถึงเวลาแยกย้ายจบเกม ไม่รู้ว่าใครได้เงินมากน้อยเท่าไหร่ แต่รวมเงินกันแล้วก็ยังมีเงินทั้งหมด 4,000 บาทเท่าเดิม แบบนี้ไม่นับเป็นเศรษฐกิจเพราะมันไม่เพิ่มมูลค่าอะไรเลย
ฉะนั้นหากประเทศไหนก็ตามที่มีนักพนันเยอะๆทุกคนมีรายได้จากการพนันไม่ได้แปลว่าประเทศนั้นมีเศรษฐกิจดี แค่ประชาชนมีเงินมาใช้จ่ายเท่านั้นเอง เราพอจะสรุปได้ว่าการนับมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจะช่วยให้มี GDP เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
อ้างอิงจาก INTERTRADER ACADEMY
ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)