Last updated: 18 เม.ย 2565 | 2908 จำนวนผู้เข้าชม |
1. ผลิตภัณฑ์สำหรับส่งออก
ในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศตัวสินค้าของเราถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องแรกสุดและสำคัญมากๆ สำหรับการส่งออกถ้าไม่มีสินค้าก็ไม่เกิดธุรกิจส่งออก เราไม่ได้พูดถึงเฉพาะการส่งออกสินค้า แต่เราพูดถึงบริการรวมอยู่ด้วย ซึ่งสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆก็มี ข้อกำหนดหรือข้อจำกัดในแต่ละประเทศที่ต้องการนำเข้าแตกต่างกันไป ฉะนั้นเราจึงต้องเข้าใจสินค้าและต้องเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คือ
1.1 สเปคสินค้าส่งออก ก็คือเราจะต้องเข้าใจว่าสินค้าเรามีข้อมูลเฉพาะหรือสเตทอะไรบ้าง มีรูปร่างอย่างไร มีเสียง มีสี มีรูปร่างอย่างไร มีรุ่น มีขนาดเท่าไหร่ ฯลฯ
1.2 มาตรฐานสินค้าส่งออกสินค้าเราจะต้องมีมาตรฐานอะไรบ้าง เช่น อาหารก็ต้องมี อย. หรือเครื่องสำอางก็ต้องมี อย. หรือถ้าส่งออกไปประเทศมุสลิมก็ต้องมี ฮาลาล เป็นต้น ผู้นำเข้าในประเทศปลายทางจะระบุความต้องการอย่างชัดเจน และสิ่งที่ควรจะต้องศึกษาเพิ่มเติมคือข้อกำหนดและกฎหมายของประเทศปลายทางนั้นนั้น
2. กฎระเบียบข้อบังคับ
กฎระเบียบข้อบังคับนั้นต่อเนื่องมาจากเรื่องของมาตรฐานสินค้าเว้นวรรคก็คือข้อบังคับในการนำเข้าในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เช่น ประเทศหนึ่งจะยอมรับสินค้าที่มาจากประเทศไทยโดยไม่ต้องผ่านมาตรฐานเพิ่มเติม พูดไม่ได้ก็คือมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน หรือในบางกลุ่มประเทศ เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น หรืออเมริกาเว้น ที่ต้องการมาตรฐานที่มากกว่าเดิมเว้นวรรคเพราะเขามีความเชื่อว่ามาตรฐานสินค้าบ้านเขา มีความก้าวหน้าและล้ำไปกว่าบ้านเราหรืออีกในหนึ่งก็คืออาจจะเป็นการกีดกันการค้าไปในตัวเพราะหากจะผลิตให้สินค้ามีมาตรฐานตามที่ประเทศนั้นนั้นต้องการ อาจเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ผลิต นอกจากมาตรฐานแล้วยังมีเรื่องของเอกสาร ซึ่งจะมีเรื่องของขั้นตอนต่างๆ เช่น การขอใบอนุญาตต่างๆที่ต้องใช้ในแต่ละประเทศซึ่งในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเราจะเอาสินค้าเราเข้าไปประเทศไหนก็จะต้องศึกษามาตรฐานและกฎระเบียบต่างๆของประเทศนั้นๆ ในทางกลับกันเวลาเราจะนำเข้าสินค้ามาที่เมืองไทยก็มีเช่นกัน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจอะไร
3. การตลาดส่งออก
การตลาดสำหรับธุรกิจส่งออกค่อนข้างแตกต่างกับธุรกิจในประเทศเพราะว่ามีความซับซ้อนในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการวิเคราะห์ตลาดผู้บริโภคเว้นวรรคช่องทางในการค้าขาย ภาษา หรือวัฒนธรรม รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม แบบเฉพาะเจาะจง เพราะในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน สำหรับสินค้าการเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่ง เช่น ในประเทศหนึ่งสินค้าไทยของเราจะขายดี แต่ในอีกประเทศหนึ่งสินค้าไทยของเราอาจจะต้องปรับรูปลักษณ์ กลิ่น เสียง รสชาติ เพื่อให้เหมาะกับผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ เป็นต้น ฉะนั้นการตลาดก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน
4. เอกสารส่งออก
เอกสารส่งออกในหลายหลายครั้งเรื่องเอกสารส่งออก มักจะเป็นเรื่องที่หยุดยั้งไม่ให้หลายหลายคนเริ่มต้นทำธุรกิจส่งออก เนื่องจากว่าเอกสารมีเป็นจำนวนมากและหลายประเภทซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดสินค้าและบริการ การส่งออกสินค้าหนึ่งครั้งแต่ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่หากมีการทำงานอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ได้รับออเดอร์เรื่อยเรื่อย จะทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้นและสามารถเข้าใจได้มากขึ้น ดังนั้นจึงขอให้ผู้อ่านอย่าย่อท้อตั้งแต่ครั้งแรก ถึงแม้เอกสารจะมีจำนวนมากและจุกจิกแต่เมื่อได้ลองทำผ่านครั้งแรกแล้วครั้งต่อไปก็จะไม่ได้ยากเย็นอะไร
5. เทอมการค้าระหว่างประเทศ (Incoterm)
ในการทำธุรกิจนั้นแต่ละประเทศก็มีแนวทางและวิธีในการปฏิบัติในการค้าไม่เหมือนกัน เช่น ในบางประเทศการขายสินค้าต้องรวมค่าขนส่งถึงหน้าบ้าน หรือในบางประเทศการขายสินค้าคิดราคาเฉพาะสินค้าหน้าโรงงานเท่านั้น ที่เหลือค่าขนส่งผู้ซื้อต้องเป็นผู้จัดการเอง ซึ่งหากเราทำการค้าขายระหว่างประเทศเราจะต้องมีความรู้ในเรื่องของเทอมการค้าที่ในประเทศนั้นๆนิยมใช้ ผู้ที่ทำการส่งออกหรือนำเข้านั้นจะต้องศึกษาเรื่องของเทอมการค้า เพื่อทำการประเมินต้นทุนของสินค้าเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในการค้าระหว่างประเทศมีการ กำหนดกติกา (Incoterms) ซึ่งเป็นสากลท่านจึงควรมีการตกลงกันในเรื่องของเทอมการค้าให้ชัดเจนป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
6. อัตราการแลกเปลี่ยน
อัตราการแลกเปลี่ยนของเงินตราในการขายสินค้าไปต่างประเทศนั้นแน่นอนว่าเราจะหาได้น้อยมากที่จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินบาท ยกเว้นจะเป็นการค้าขายกับชาติเพื่อนบ้านบริเวณชายแดนหรือกับต่างประเทศที่นิยมใช้เงินบาทในการทำทุรกรรมซึ่งจะมีไม่กี่ประเทศในโลกนี้ ดังนั้นแล้วส่วนใหญ่การทำการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศจะต้องศึกษาว่าประเทศ ปลายทางนั้น นิยมใช้เงินสกุลใดไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์สหรัฐ ยูโร หยวน เยน เป็นต้น การเข้าใจการบริหารจัดการการแลกเปลี่ยนจะมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศสินค้าบางประเภทมีกำไรหรือ Margin เยอะๆนั้น อาจจะไม่ได้กังวลในเรื่องนี้มากนัก ขณะที่สินค้าบางประเภทที่กำไรน้อยมาก การบริหารจัดการอัตราการแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่สำคัญ และสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ ทำให้เรามีกำไรมากขึ้นหรืออย่างน้อยก็ไม่ขาดทุนในการค้าขายแต่ละครั้ง
เรื่องที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจส่งออกต้องเข้าใจ ไม่เข้าใจไม่ได้ ซึ่งไม่ได้ยากเกินความสามารถอะไร และยังสามารถศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตหรือหนังสือก็ได้ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาอย่างจริงจัง ในปัจจุบันก็ยังมีสถาบันที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการส่งออกทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่มากมายให้ได้เลือกศึกษากัน
อ้างอิงจาก intertraderacademy
ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)