Last updated: 18 เม.ย 2565 | 3809 จำนวนผู้เข้าชม |
ระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Import)
ปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากนำเข้า (Import) สินค้าจากต่างประเทศทั้งจีน ยุโรป อเมริกาหรือเพื่อนบ้านอาเวียนมาขายในไทยไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ ของชำร่วย อะไหล่ยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าไอทีและเทคโนโลยี ฯลฯ หลายคนทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ เหตุที่สินค้านำเข้าเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะแปลก แตกต่าง มีเอกลักษณ์ ราคาถูก คุณภาพดี
การที่เข้ามาทำธุรกิจนี้ผู้ประกอบการรายใหม่ควรเตรียมพร้อมด้วยการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เช่น หาสินค้าที่ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า ทราบพิกัดภาษีให้ชัดเจน ติดต่อกับผู้ขายในต่างประเทศ ติดต่อชิบปิ้งเพื่อนำเข้าสินค้า วิธีการตลาดออนไลน์ ออฟไลน์ การหาตัวแทนจำหน่าย วิธีการโอนเงินและส่งสินค้า เป็นต้น
ปัจจุบันการผ่านพิธีการศุลกากรให้สามารถกระทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร(Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็ก ทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับ ส่ง ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Value Added Network Services : VANS) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่ศุลกา กรกำหนด (ebXML / XML Format)เสมือนการจัดทำ ยื่น ส่ง รับเอกสาร และการลงลายมือชื่อในกระดาษ
การยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ให้ผู้นำเข้าจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตร ฐานที่ศุลกากรกำหนดและเป็นผู้ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอม พิวเตอร์ของศุลกากร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรผู้รับข้อมูลได้ทำการตอบรับข้อ มูลอิเล็กทรอนิกส์นัน้ ในการผ่านพิธีการ ถือเป็นการยื่นเอกสารนัน้ ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรแล้ว
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรเพื่อนำเข้าประกอบด้วย
1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry Declaration)2. ใบตราส่งสินค้า (B/L)3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License)6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) กรณีขอลดหรือยกเว้นอัตราอากรขาเข้า7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น
1. การโอนถ่าย และ/หรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : ขั้นตอนแรกของพิธีการนำเข้าคือการสำแดงข้อมูลการนำเข้าและส่งข้อมูลไปยังกรมศุลกากร ให้บริษัทหรือตัวแทนออกของส่งข้อมูลเรือเข้า บัญชีรายการสินค้าและบัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร หากไม่พบข้อผิดพลาด ระบบคอมพิวเตอร์จะตอบกลับไปยังบริษัทหรือตัวแทนนั้นๆ เมื่อสินค้ามาถึงท่าหรือสถานที่นำเข้า ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
2. การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : ขั้นตอนที่ 2 คือการตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้นำเข้ายื่นมา ในขั้นนี้ระบบของกรมฯจะแยกใบขนสินค้าเป็น 2 ประเภทคือ ใบขนฯให้ตรวจ และใบขนฯยกเว้นการตรวจ ผู้นำเข้าสามารถดำเนินการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องได้ทันที หากใบขนฯของตนเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจ
3. การชำระภาษีอากรขาเข้า : ขั้นตอนที่ 3 คือการชำระภาษีอากรและการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบัน สามารถชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และชำระที่ธนาคาร
4. การตรวจและการปล่อยสินค้า : ขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำเข้ายื่นใบขนฯ กับใบเสร็จรับเงินที่คลังสินค้าเพื่อการปล่อยสินค้าในขั้นนี้ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบ ความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าวต้องผ่านการเปิดตรวจหรือยกเว้นการตรวจหากเป็นใบขนฯ ยกเว้นการตรวจ จะใช้เวลาน้อยมาก หลังจากนั้นสถานะชองการปล่อยสินค้าจะส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปทั้งที่ท่าเรือและที่ผู้นำเข้าหรือตัวแทน อย่างไรก็ตามในกรณีที่สินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการ ท่าเรือจะเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร
เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการนำเข้ากับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าที่นำเข้า การส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจะได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร
หลังจากสินค้า มาถึงท่าและได้ชำระภาษีอากรเรียบร้อยแล้ว ผู้นำเข้ามีความรับผิดชอบในการเตรียมสินค้าเพื่อการตรวจสอบ และปล่อยสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากร นอกจากนี้ในบางกรณีผู้นำเข้ายังต้องขอใบอนุญาตในการนำเข้าสำหรับสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า สินค้าบางรายการต้องได้รับการอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการนำเข้าสินค้า
ธุรกิจนำเข้ายังเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาประลองฝีมือ สร้างโอกาสให้ธุรกิจเติบโต มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ และด้วยการแข่งขันที่สูง ผู้ประกอบการควรมีข้อมูลรอบด้าน เข้าใจลูกค้า ตลาด สินค้า คู่ค้า ชิบปิ้ง ตัวแทนจำหน่าย เครื่องมือทำการตลาด ตลอดจนขั้นตอนนำเข้าสินค้า และเอกสารที่ต้องเตรียมในการนำเข้าสินค้ามาขายในประเทศ เพราะมีขั้นตอนค่อนข้างซับซ้อน ใช้เอกสารจำนวนมาก และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของกรมศุลกากรอย่างเคร่งครัด
แม้หลายท่านใช้บริการชิบปิ้งเพื่อความสะดวกในขั้นตอนนำเข้า ผู้ประกอบการก็ควรเลือกชิบปิ้งมืออาชีพ เชื่อถือได้ มีประสบการณ์นำเข้าสินค้ามาขายในประเทศยาวนาน จะช่วยทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการดำเนินไปด้วยความราบรื่น ไม่ติดขัดปัญหาจนต้องเลิกกิจการกลางคัญ
สิ่งสำคัญยิ่ง ผู้ประกอบการต้องติดตามการขั้นตอนนำเข้าสินค้าทุกขั้น เมื่อได้รับสินค้าตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสินค้าและธุรกิจ
อ้างอิงจาก : goodfreight
ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)