Last updated: 13 ก.พ. 2564 | 2648 จำนวนผู้เข้าชม |
ปริมาณ ขนาด และน้ำหนักสินค้า
ผู้นำเข้าต้องรู้ปริมาณ ขนาด และน้ำหนักสินค้า เนื่องจากเป็นตัวแปรที่ใช้การคำนวณค่าใช้จ่าย
ไม่ว่าจะเป็นค่ารถบรรทุกที่เข้ารับสินค้า หรือค่าระวางเรือ และค่าระวางเครื่องบิน
โดยการนำเข้าจะมีวิธีการคิด 3 แบบ ดังต่อไปนี้
นำเข้าโดยเรือ LCL จะอ้างอิงตามปริมาตรของสินค้า ที่เรียกกันสั้นๆว่า คิว ย่อมาจากคำว่า
คิวบิกเมตร (Cubic Metres:CBM) โดยคำนวณด้วยการนำ ความกว้าง x ความยาว x ความสูง
แล้วแปลงเป็นเมตร โดยค่าระวางของ LCL จะเริ่มต้นที่ 1 เสมอ ถึงแม้ว่าจะคำนวณได้น้อยกว่า 1
ก็ตาม แต่ทั้งนี้ ถ้าน้ำหนักสินค้ามีจำนวนที่มากกว่า CBM ราคาจะถูกอ้างอิงตามน้ำหนักแทน
อาทิเช่น สินค้ามีปริมาตร 1.5 CBM แต่น้ำหนัก 2 Ton ค่าระวางจะถูกคิดที่ 2 CBM โดยทันที
นำเข้าโดยเรือ FCL จะคิดเป็นราคาต่อตู้ FCL มี 3 ประเภท คือ FCL20’(ตู้สั้น หรือตู้20),
FCL40’(ตู้ยาว หรือตู้40) และ FCL40’HC (ตู้ยาวสูง หรือตู้40สูง) ถ้าสินค้ามีน้ำหนักเยอะ แนะนำ
ให้ใช้เป็นตู้ FCL20’ ถ้าสินค้ามีปริมาตรเยอะ แนะนำเป็น FCL40’ และ FCL40’HC ถึงแม้ว่าตู้
FCL40’ และ FCL40’HC จะถูกออกแบบมาให้จุน้ำหนักได้มากกว่า แต่กฏหมายไม่สามารถให้รถ
ที่มีน้ำหนักรวมเกิน 25 ตัน วิ่งบนถนนได้
นำเข้าโดยเครื่องบิน จะคำนวณอ้างอิงจากน้ำหนัก และปริมาตรควบคู่กัน เนื่องจากพื้นที่
บนเครื่องบินมีค่อนข้างจำกัด ดังนั้น จะคำนวณจากน้ำหนักก่อนที่เรียกว่า Actual Weight
แล้วคำนวณหาปริมาตร หารด้วย 6000 จะออกมาเป็นน้ำหนักที่เรียกว่า Volume Weight
แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน น้ำหนักอันไหนสูงกว่าจะถูกนำไปคำนวณราคาค่าระวาง หรือที่เรียกว่า
Chargeable Weight